Event Report

MUJI is Enough

MUJI คืออะไร

ผู้ที่ชื่นชอบการออกแบบได้มารวมตัวกันที่ The Times Center เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแบรนด์ญี่ปุ่นและเฉลิมฉลองการเปิดตัวร้าน Flagship แห่งใหม่ของ MUJI ในวันที่ 15 ตุลาคม 2015 ตามกำหนดการเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน MUJI Fifth Avenue จะตั้งอยู่ที่ใจกลาง Fifth Avenue และ 41st Street ฝั่งตรงข้ามถนนจากห้องสมุดประชาชนนิวยอร์กใน Bryant Park และไม่ไกลจาก Grand Central Station

ในการกล่าวเปิดงานต่อหน้าแขกผู้มีเกียรติ Asako Shimazaki ประธานบริษัท MUJI USA ได้อธิบายว่า “ก่อนที่เราจะเปิดร้าน Flagship ของเรา เราอยากให้คุณรู้จัก MUJI มากขึ้น” MUJI เริ่มก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในปี 1980 ชื่อนี้ได้มาจากคำว่า Mujirushi Ryōhin ซึ่งหมายความว่า “สินค้าที่ไม่มียี่ห้อแต่มีคุณภาพดี” เริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์เพียง 40

ในการกล่าวเปิดงานต่อหน้าแขกผู้มีเกียรติ Asako Shimazaki ประธานบริษัท MUJI USA ได้อธิบายว่า “ก่อนที่เราจะเปิดร้าน Flagship ของเรา เราอยากให้คุณรู้จัก MUJI มากขึ้น” MUJI เริ่มก่อตั้งขึ้นในประเทศญี่ปุ่นในปี 1980 ชื่อนี้ได้มาจากคำว่า Mujirushi Ryōhin ซึ่งหมายความว่า “สินค้าที่ไม่มียี่ห้อแต่มีคุณภาพดี” เริ่มต้นด้วยผลิตภัณฑ์เพียง 40 อย่างที่มุ่งเน้นไปที่อาหารและสิ่งจำเป็นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน MUJI ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 7,000 อย่าง รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน และผลงานออกแบบอันเป็นเอกลักษณ์ เช่น เครื่องเล่นซีดีติดผนัง เป็นต้น ในปี 2007 MUJI เปิดสาขาแรกในสหรัฐฯ โดยตั้งอยู่ในย่าน Soho ของนครนิวยอร์ก ร้าน Fifth on Fifth ซึ่งเป็นสาขาที่ห้าของ MUJI ในนิวยอร์กและตั้งอยู่ที่ Fifth Avenue จะเปิดช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน และจะเป็นสถานที่จัดแสดงนวัตกรรมใหม่ ๆ ของ MUJI อีกด้วย ไม่เพียงแต่จะมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นอย่างหนังสือและเสื้อผ้าเด็กคุณภาพดีเท่านั้น แต่ยังมีบริการพิเศษให้ที่ร้านอย่างผลิตภัณฑ์และงานเย็บปักถักร้อยตามคำสั่งของลูกค้า

สมาชิกของคณะกรรมการที่ปรึกษาของ MUJI และ Naoto Fukasawa นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชื่อดังระดับนานาชาติ ร่วมเป็นวิทยากรหลักของงานในค่ำคืนนั้น Paola Antonelli ภัณฑารักษ์อาวุโสของภาควิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบ และผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยและพัฒนาที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ ได้กล่าวแนะนำสั้น ๆ ถึงผลงานของ Fukasawa Antonelli และ Fukasawa เป็นมิตรที่ดีต่อกันมายาวนานกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ช่วงที่ Fukasawa ยังอาศัยอยู่ที่ซานฟรานซิสโกและทำงานให้ Bill Moggridge นักออกแบบการปฏิสัมพันธ์ผู้บุกเบิกที่ ID2 ซึ่งในภายหลังได้กลายมาเป็นเอเจนซี่ออกแบบที่ชื่อว่า IDEO

ในปี 1996 พวกเขาร่วมทำงานในโครงการแรกด้วยกัน ในตอนนั้น Fukasawa ได้ย้ายกลับไปเปิดสำนักงาน IDEO ในโตเกียวแล้ว Antonelli แต่งตั้งเขาให้เป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงอนาคตของการทำงานได้ “ฉันขอให้ Naoto คิดถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากคุณติดอยู่ในคอกเล็ก ๆ และ Naoto ก็มีไอเดียที่แตกต่างกันถึงเก้าแบบเกี่ยวกับความเป็นเอกเทศในสำนักงาน ซึ่งสองแนวคิดนั้นได้กลายมาเป็นต้นแบบของ MoMA ด้วยเช่นกัน” โครงการเบื้องต้นทั้งสองโครงการ ได้แก่ หน้าจอ OLED ที่ฉายภาพทิวทัศน์ของท้องฟ้าจากทั่วโลก และเก้าอี้ที่จะจับยึด “จิตวิญญาณ” ของคนที่นั่งอยู่ ทำให้เราได้รู้สัมผัสกับปรัชญาการออกแบบในยุคแรกของ Fukasawa

“ความสัมพันธ์ของเราเหมือนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้” Fukasawa อธิบายในการกล่าวเปิดงาน “MUJI กับผมมีความคิดเกี่ยวกับการออกแบบที่คล้ายคลึงกัน” การปราศรัยของ Fukasawa มีหัวข้อว่า “MUJI is Enough” หัวข้อนี้อาจดูแปลก แต่แนวคิดนี้ก็สามารถประกาศตัวตนของแบรนด์เองและปรัชญาของนักออกแบบได้เป็นอย่างดี MUJI มุ่งมั่นสร้างผลิตภัณฑ์ที่พิจารณาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของชีวิตประจำวัน ถึงแม้ว่าลูกค้าที่กำลังค้นหาสินค้าเฉพาะเจาะจงบางอย่างไม่ได้วางแผนว่าจะซื้อสินค้านั้น ๆ จาก MUJI ก็ตาม แต่หลายครั้งที่พวกเขาค้นพบว่าผลิตภัณฑ์ในรูปแบบของ MUJI นั้น “เป็นอะไรที่ใช่” แนวคิดของสิ่งที่ใช่นี้มอบความสุขในระดับที่เหมาะสมให้แก่ลูกค้า

Without Thought(ไม่ต้องคิด)

ตัวอย่างหนึ่งของแนวคิดนี้คือเครื่องเล่นซีดีติดผนังของ MUJI ที่ถูกออกแบบโดย Fukasawa ในปี 2002 “ผลิตภัณฑ์นี้ไม่ได้เป็นเพียงวัตถุ” Fukasawa อธิบาย ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์อันเป็นเอกลักษณ์ เครื่องเล่นซีดีที่ไม่มีฝาปิดนี้จึงมีรูปลักษณ์แบบมินิมอล แต่มีการใช้งานได้อย่างเป็นธรรมชาติ ด้วยการดึงสายสวิตช์ซึ่งเลียนแบบสวิตช์แบบดึงของพัดลมห้องครัวสไตล์วินเทจ แผ่นซีดีจะเริ่มหมุนและดนตรีจะเริ่มเปล่งเสียงออกจากลำโพงแบบฝัง “วัตถุถูกผสมผสานเข้ากับพฤติกรรมของเรา” แนวคิดการทำงานของวัตถุที่ถูกผสมผสานเข้ากับพฤติกรรมของมนุษย์นั้นถูกสรุปไว้ในวลี Without Thought(ไม่ต้องคิด) และถูกค้นพบผ่านทางการสัมมนาเชิิงปฏิบัติการด้านการออกแบบหลายครั้งที่นำโดย Fukasawa และทีมของเขา หลักการนี้สร้างขึ้นด้วยแนวคิดที่ว่า การกระทำต่างๆ ตามธรรมชาติของเรา ควรเป็นสิ่งที่ชี้นำการออกแบบ แทนที่จะมุ่งเน้นไปที่การออกแบบวัตถุสำหรับจิตใจ กลับเป็นการออกแบบวัตถุสำหรับร่างกาย และเป็นสิ่งที่ Fukasawa เรียกมันว่า “พฤติกรรมจิตใต้สำนึก” ตัวอย่างหนึ่งที่เขาแสดงให้เห็นคือการออกแบบขาตั้งร่ม หากคนหนึ่งเห็นร่องบนพื้นถัดจากผนังห้อง โดยธรรมชาติแล้วคนนั้นจะวางปลายร่มไว้ในร่อง แล้วจึงพิงร่มไว้กับผนัง แทนที่จะออกแบบวัตถุหนึ่งให้เป็นขาตั้งร่ม เราก็ออกแบบซอกเล็ก ๆ บนพื้นแทน “สิ่งนี้มีความเหมาะสมในการใช้งาน” และคนนั้น ๆ จะใช้งานร่องนั้นโดยไม่ต้องคิดเลย Fukasawa อธิบายต่อว่า “จุดประสงค์ของมันสมบูรณ์แล้ว”

JUST RIGHT (เป็นอะไรที่ใช่)

อีกหนึ่งความเชื่อของหลักในการออกแบบของ MUJI คือแนวคิดในการสร้างสิ่งที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน Just Right คือการสร้างความสะดวกสบาย Just Right คือการสร้างความพึงพอใจ ตัวอย่างหนึ่งของหลักการนี้คือที่นอนสี่ขาของ MUJI “เราไม่เรียกมันว่าเตียงนอนเพราะว่ามันคือที่นอน และเราได้ติดตั้งขาไว้ข้างใต้ เพื่อที่เราจะได้ไม่จำเป็นต้องใช้เตียง” ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของ MUJI สื่อสารด้วยวิธีที่ตรงไปตรงมา เรียบง่าย และเหมาะสม

MUJI ยังเล็งเห็นด้วยว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นสิ่งถ่วงดุลความสุดขั้วต่าง ๆ ของวัฒนธรรม แบรนด์ที่สร้างความเป็นหนึ่งกับผลิตภัณฑ์ที่ทั้งขนาด ความพอดี และวัสดุมีความเหมาะสม—เป็นอะไรที่ใช่ คำอธิบายเพิ่มเติมของปรัชญาสิ่งที่ใช่คือแนวคิดของชีวิตที่กะทัดรัด ตัวเลือกในการจัดเก็บที่สามารถประกอบและขยายได้หลากหลายรูปแบบของ MUJI เป็นตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของปรัชญานี้ ไม่ว่าความต้องการของลูกค้าคืออะไร แต่โซลูชั่นการจัดเก็บนี้มอบวัตถุที่สามารถอาศัยอยู่เบื้องหลังชีวิตคน ๆ หนึ่งได้

ความสมบูรณ์แบบจากการลดทอนให้เหลือน้อยที่สุด

กิจวัตรประจำวันนำความมั่นคงและความสุขมาสู่ชีวิตของเรา กลุ่มสินค้าอุปกรณ์เสริมเพื่อการเดินทาง MUJI to Go เน้นย้ำถึงความจริงข้อนี้ แม้ในช่วงที่มีการหยุดพักจากชีิวิตประจำวัน กิจกรรมที่เรียบง่ายก็สามารถนำความสุขมาให้เราได้ วัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันรูปแบบที่เรียบง่าย (ไม้แขวนเสื้อ ผลิตภัณฑ์ความงาม การซักรีด) สามารถสร้างความสะดวกสบายได้ แม้จะต้องเผชิญกับสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือเขตความสะดวกสบายก็ตาม ปรัชญานี้อยู่ในทั้งหลักการของ MUJI ไปจนถึงวัสดุต่าง ๆ ด้วย ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ประกอบไปด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ไม่มีการใส่สีเพิ่มเติม “ไม่มีการเสริมเติมแต่ง” ตามที่ Fukasawa กล่าว สีย้อมจากธรรมชาติได้มาจากลำต้นของกุหลาบ กาบมะพร้าว และแม้แต่เศษเหลือจากเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งช่วยสร้างสีสันของสิ่งทอเหล่านั้น

โครงการล่าสุดสามโครงการของ MUJI เน้นย้ำถึงความเชื่อพื้นฐานเหล่านี้

สนามบินนาริตะ อาคาร 3

สนามบินนาริตะ อาคาร 3 คือบ้านของสายการบินราคาประหยัดระดับภูมิภาคจำนวนมาก เนื่องจากสนามบินมีจุดประสงค์ในการใช้เวลารอคอยอย่างสะดวกสบาย ความสะดวกสบายจึงเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นหลัก และ MUJI ได้ดัดแปลงที่นอนที่มีสี่ขาโดยการใส่พนักพิงเพื่อทำเป็นที่นั่ง บางคนเดินทางระยะไกลและจะต้องพักค้างคืน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ดัดแปลงแล้วจะช่วยเติมเต็มจุดประสงค์แบบมัลติฟังก์ชั่นระหว่างที่นอนและโซฟาได้

เครื่องใช้ในครัว

เครื่องใช้ในบ้านของ MUJI เป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวผลิตภัณฑ์ของ MUJI ขนาดใหญ่—เป็นมิตร เรียบง่าย และไม่ต้องคิด รูปร่างโค้งมนของเครื่องปิ้งขนมปังเป็นรูปร่างที่อบอุ่นและเป็นกันเองที่บ้าน พร้อมทั้งเครื่องกระจายน้ำมันหอมระเหยหรือเครื่องใช้ในบ้านของ MUJI หม้อหุงข้าวมีรายละเอียดเพิ่มมากขึ้นบริเวณฝาปิด คงไม่มีใครสังเกตเห็นที่วางทัพพีแบบธรรมชาตินี้จนกว่าจะได้ใช้งานผลิตภัณฑ์จริง ๆ ฝาปิดและที่วางทัพพีนี้คือสิ่งที่ทำให้หม้อหุงข้าวนี้เป็นผลิตภัณฑ์ของ MUJI ที่โดดเด่น ประณีตงดงามโดยไม่ต้องคิดเลย

Found MUJI

ในการเดินทางของ Fukasawa นั้น เขาได้พบเจอวัตถุที่น่าสนใจในชีวิตประจำวันมากมาย ผลงานออกแบบจากบุคคลนิรนามนั้นมีอยู่รอบตัวเรา แต่นักออกแบบต้องมีวิสัยทัศน์ดีพอที่จะชื่นชมความงดงามของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในขณะที่กำลังเดินทางผ่านประเทศจีน Fukasawa ได้เริ่มรวบรวมผลิตภัณฑ์ที่ “พอเหมาะพอดี” ไว้ภายใต้แบรนด์ MUJI ในร้านขายอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ร้านน้ำชา และตามท้องถนน นักออกแบบได้พบผลิตภัณฑ์และวัสดุที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจและทำให้เกิดหนทางในการค้นหาหุ้นส่วนการผลิต เก้าอี้พลาสติกที่พบเห็นได้ทั่วไปจากกรุงปักกิ่งได้รับการขัดเกลารูปแบบจาก MUJI โดยการผลิตออกมาเป็นสีเทา ชามกระเบื้องสีขาวจากเกาหลี ตะกร้าสานทำมือจากลิทัวเนีย และสมุดทำจากเศษหนังจากจีน ทั้งหมดนี้ถูกผลิตขึ้นจากผู้ผลิตดั้งเดิมภายใต้มาตรฐานของญี่ปุ่น เพื่อให้สามารถก้าวเข้าร่วมเป็นผลิตภัณฑ์ในครอบครัวของ MUJI ได้

วิธีหนึ่งที่เราสามารถเข้าใจคุณค่าของ MUJI ได้ คือการถามตนเองว่า ถ้าหากไม่มี MUJI ล่ะ?

ในช่วงสุดท้ายของการปราศรัยแก่ผู้ฟังนั้น Fukasawa ได้ย้อนกลับไปยังโครงการแรกที่เขาทำเพื่อ MUJI นั่นคือเครื่องเล่นซีดีติดผนัง เพื่ออธิบายถึงคุณค่าของ MUJI “มันก็แค่เครื่องเล่นซีดี แต่เมื่อคุณดึงสวิตช์เพื่อฟังเพลง คุณสามารถเอาใจจดจ่ออยู่กับมันได้ช่วงสั้น ๆ และมันจะทำให้คุณมีความสุข” ผลิตภัณฑ์นี้มอบโอกาสให้คุณได้ค้นพบว่าความสุขคืออะไร”