Compact Life เคล็ดลับการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่

MUJI 無印良品

เรียนรู้ที่จะไม่สร้างขยะ

ยูมิโกะ ซาคุมะนักเขียน

ยูมิโกะ ซาคุนะ เป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง “Hip Revolution” ปัจจุบันอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา กำลังค้นหาเส้นทางการใช้ชีวิตแบบใหม่ ๆ นอกนิวยอร์กและพอร์ตแลนด์ ซาคุมะถอยหลังออกมาจากรูปแบบบริโภคนิยม และได้มองเห็นความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้ผลิตและผู้ซื้อที่กำลังมองหาการผลิตที่เชื่อถือได้ ตอนนี้เธอจะมาแบ่งปันความคิดของเธอในเรื่องของการเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะไม่สร้างขยะ

เมื่อประมาณ 5 ปีก่อนตอนที่พายุหิมะทำให้หน่วยเก็บขยะในนิวยอร์กเป็นอัมพาต ปริมาณขยะที่มาจากอาคารที่พักอาศัยเล็ก ๆ ของฉัน ซึ่งเป็นบ้านของครอบครัวเพียงแค่ 8 ครอบครัวนั้นมีปริมาณมากจนน่าตกใจ เราซึ่งเป็นผู้อยู่อาศัยในตัวเมืองต่างก็ใช้ชีวิตของเราไป ในขณะที่เราก็สร้างปริมาณขยะที่เกินจะบรรยายได้ โดยขยะส่วนมากนั้นพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ได้ถูกนำไปรีไซเคิล ไม่ได้ถูกนำไปย่อยสลายกลับคืนสู่ธรรมชาติ

ตั้งแต่นั้นมา เรื่องนี้จึงกลายมาเป็นหนึ่งในเป้าหมายของฉันที่จะลดปริมาณขยะลง ในการที่จะทำเช่นนั้นได้ ฉันจะต้องคิดถึงความหมายของสิ่งที่ฉันซื้อและครอบครอง แต่ละครั้งที่ฉันหยิบจับสิ่งใดในร้านค้า ฉันจะต้องถามตัวเองว่าฉันต้องการมันจริง ๆ หรือเปล่า มันใช้งานได้ตามที่ฉันต้องการจริง ๆ หรือเปล่า มันจะแตกหักไหม ฉันซ่อมมันได้ไหม ถ้ามันพังหรือเมื่อมันพัง ฉันจะเบื่อมันไหม มันถูกผลิตขึ้นโดยบริษัทที่เชื่อถือได้หรือเปล่า ฉันจะยังคงรักมันไปเรื่อย ๆ หรือเปล่า ฉันพยายามนึกถึงคำถามเหล่านี้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อน

หลังจากวิกฤตการเงินที่ทิ้งให้เราจมดิ่งอยู่ในความกลัวในปี ค.ศ. 2008 ฉันเริ่มมองเห็นผู้คนมากมายตั้งคำถามกับวิธีเก่า ๆ ของการผลิตจำนวนมากและการบริโภคจำนวนมาก และฉันเริ่มค้นหาวิธีใหม่ ๆ ในการสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือ โดยให้ความสำคัญไปที่การเปลี่ยนแปลงเล็ก ๆ ที่เราสามารถทำได้ โดยเฉพาะในเมืองต่าง ๆ เช่น บรู๊คลินและพอร์ตแลนด์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงเริ่มเขียนหนังสือเรื่อง “Hip Revolution” ในภาษาญี่ปุ่น การเปิดตัวหนังสือในปี ค.ศ. 2014 ได้เปิดประตูให้ฉันพบปะผู้คนมากขึ้น ซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณค่าคล้ายคลึงกันทั้งในญี่ปุ่นและยุโรป

ในฐานะที่เป็นกลุ่มเดียวกัน พวกเขาเริ่มตั้งคำถามถึงความหมายและผลที่ตามมาของการสร้างและการจำหน่ายสินค้าในโลกที่เต็มไปด้วยสิ่งของต่าง ๆ นานา ตัวอย่างเช่น Marlow Goods ในบรู๊คลิน ผลิตสินค้าเครื่องหนัง โดยใช้หนังจากสัตว์ที่ถูกเสิร์ฟในร้านอาหารในเครือของตนเอง มิฉะนั้นหนังพวกนั้นก็จะถูกทิ้งไปเปล่า ๆ Fait La Force ทำงานร่วมกับช่างฝีมือในเฮติเพื่อผลิตกระเป๋าหนังและงานควิลท์

มีผู้คนใช้สิ่งของที่ผลิตขึ้นมาแล้วมากขึ้นเรื่อย ๆ Abasi Rosborough คือ แบรนด์เครื่องแต่งกายที่ท้าทายให้เราคิดถึงอนาคตของชุดสูท แต่พวกเขาใช้ผ้าคงคลังที่ไม่มีการเคลื่อนไหว (Dead Stock) ชิน มารุยามะ นักออกแบบชาวญี่ปุ่นผู้อยู่เบื้องหลัง Twoness สร้างชีวิตใหม่ให้เสื้อผ้าสไตล์วินเทจโดยการฉีกเสื้อผ้าเหล่านั้นออกแล้วค่อยเย็บให้เข้ากัน

มีผู้ผลิตที่ค้นหาความสัมพันธ์ของเรากับงานฝีมือแบบดั้งเดิมและวิธีการสมัยเก่า มกโกะ โทเคชิ ศิลปินคู่ที่ฉันไปเยี่ยมในโอกินาว่าซึ่งกำลังพยายามนำพาให้ผู้เยี่ยมชมไปเที่ยวที่นั่น เคยฝึกงานในแถบภูมิภาควาจิม่าเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนฝีมือด้านวิธีการเคลือบแลกเกอร์แบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้ผลเข้ากับสภาพอากาศที่นั่น Loopwheeler ในโตเกียว แบรนด์ที่ใช้วัสดุเสื้อสเวตเตอร์ เริ่มต้นด้วยความพยายามที่จะรักษาเครื่องทอผ้าแบบดั้งเดิมที่เกือบจะสูญหายไปแล้วให้คงอยู่

ในขณะที่ฉันติดตามเรื่องราวของผู้ผลิตและช่างฝีมือที่พยายามสร้างผลงานที่ต่อต้านการผลิตแบบจำนวนมากอยู่นั้น ฉันเริ่มรู้สึกผิดในการซื้อสิ่งต่าง ๆ ที่แทบไม่ได้ให้ความสำคัญกับสุนทรีย์แห่งความงามของสิ่งเหล่านั้นเลย ถึงกระนั้น การได้รู้ว่าผู้คนเหล่านี้ผลิตสิ่งต่าง ๆ ไปทำไมและอย่างไร และมีการตั้งราคากันอย่างไร ทำให้ฉันมีความรักต่อสิ่งของและทำให้หัวใจของฉันเต้นรำได้อย่างกระชุ่มกระชวย

ฉันไม่แน่ใจว่าฉันจะเดินทางค้นคว้ามาจนถึงจุดนี้ได้หรือไม่ ถ้าเราไม่เคยผ่านช่วงการผลิตจำนวนมากและการบริโภคจำนวนมากเสียก่อน แต่ก็เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสารที่สื่อออกมาให้ “ป้องกันโลกจากการถูกทำลาย” ไม่ได้บังคับให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีการบริโภคของเรา

วังการี มาไท (Wangari Maathai) ซี่งเป็นนักสิ่งแวดล้อมชาวเคนย่าและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพผู้ที่จากเราไปเมื่อปี ค.ศ. 2011 ทำงานอย่างหนักเพื่อเผยแพร่แนวคิด “Mottainai” ซึ่งเป็นคำภาษาญี่ปุ่นที่ไม่มีคำแปลในภาษาส่วนใหญ่ แต่มีความหมายว่า “ความรู้สึกเสียดาย”เป็นที่ถกเถียงโดยหลายฝ่ายว่าทรัพยากรของเรานั้นไม่ได้มีจำกัด และวิถีการใช้ชีวิตของเราทำให้สถานการณ์ของโลกใบนี้เลวร้ายลง แต่ก็เป็นที่พิสูจน์แล้วว่าสารที่สื่อออกมาให้ “ป้องกันโลกจากการถูกทำลาย” ไม่ได้บังคับให้เราเปลี่ยนแปลงวิธีการบริโภคของเรา